ปั๊มคอนกรีต ปั๊มลากจูง
แจ้งจำนวนคอนกรีตที่ต้องการใช้ปั๊มคอนกรีต(คิว)
ต้องการเทคอนกรีตผสมเสร็จ ด้วยปั๊มคอนกรีต ปริมาณกี่คิว(ลบ.ม.) กรอกจำนวนลงไปในช่อง จำนวน กรณีเทคอนกรีตด้วยปั๊มคอนกรีต ไม่เกินกว่า 50 คิว ค่าบริการ อัตราเหมาจ่ายขั้นต่ำ 50 คิว
- ค่าบริการปั๊มคอนกรีต จำนวน 50 คิว(ลบ.ม.) ฿ 13500.00
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 % ฿ 883.18
- ยอดสุทธิ ค่าบริการปั๊มคอนกรีต ฿ 14,383.18
บริการเทคอนกรีตด้วย ปั๊มคอนกรีต ปั๊มลากจูง มีอัตราค่าบริการต่อการปั๊มคอนกรีต จากปริมาณการใช้งานจริง โดยคำนวณราคาอัตราค่าบริการ แบบเหมาจ่าย กรณีเทคอนกรีต ด้วยปั๊มคอนกรีตตามอัตราข้างต้น ต่ำกว่า 50 ลบ.ม.
จุดเด่นปั๊มคอนกรีต ปั๊มลากจูง
ปั๊มลากประจำหรือ ปั๊มลากจูง (stationary pump)อุปกรณ์ เครื่องจักรที่ใช้ในการลำเลียงคอนกรีต ในปัจจุบันปั๊มคอนกรีตได้เข้ามามีบทบาทในการลำเลียงคอนกรีต โดยเข้ามาทดแทน รถเข็น , ลิฟท์ , ทาวเวอร์เครน , สายพานลำเลียงและวิธีการลำเลียงอื่น ๆ ทั้งนี้เนื่องจากปั๊มคอนกรีตสามารถตอบสนองความต...»
ปั๊มลากประจำหรือ ปั๊มลากจูง (stationary pump)อุปกรณ์ เครื่องจักรที่ใช้ในการลำเลียงคอนกรีต ในปัจจุบันปั๊มคอนกรีตได้เข้ามามีบทบาทในการลำเลียงคอนกรีต โดยเข้ามาทดแทน รถเข็น , ลิฟท์ , ทาวเวอร์เครน , สายพานลำเลียงและวิธีการลำเลียงอื่น ๆ ทั้งนี้เนื่องจากปั๊มคอนกรีตสามารถตอบสนองความต้องการในการเทคอนกรีตในที่ๆ ความสูง พื้นที่จำกัด(่ต่ำ มีสายไฟ หรืออุปสรรคเรื่องความสูง) หรือในที่ที่มีอุปสรรค ยากต่อการเทคอนกรีตอื่นๆ รวมทั้งยังให้ความสะดวกรวดเร็ว ในการเทคอนกรีตเมื่อเทียบกับวิธีอื่นด้วย
ปั๊มลากจูง มีขนาดเล็ก ใช้พื้นน้อยในการติดตั้ง เหมาะกับสถานที่ ที่ไม่มีสถานที่จอดสำหรับรถปั๊มคอนกรีต ขนาดใหญ่ได้
อัตราค่าบริการปั๊มคอนกรีตผสมเสร็จ - ปั๊มบูม
ลำดับที่ | รายการ | อัตราเหมาขั้นต่ำ | ส่วนที่เกิน | ราคาต่อท่อปลายบูม (บาท/เมตร) ไม่เกิน 5 ท่อน |
|
ปริมาณคอนกรีต ขั้นต่ำ (ลบ.ม.) |
ราคาเหมา (บาท) |
ราคา (บาท / ลบ.ม.) |
|||
1 | บูมยาว 18 เมตร | 50 | 11,000.00 | 150.00 | 35.00 |
1 | บูมยาว 22 เมตร | 50 | 12,000.00 | 160.00 | 35.00 |
1 | บูมยาว 26 เมตร | 50 | 12,500.00 | 180.00 | 35.00 |
2 | บูมยาว 28 เมตร | 50 | 13,000.00 | 200.00 | 35.00 |
3 | บูมยาว 32 เมตร | 50 | 13,500.00 | 200.00 | 35.00 |
4 | บูมยาว 38 เมตร | 50 | 15,500.00 | 240.00 | 35.00 |
5 | บูมยาว 40 เมตร | 50 | 18,000.00 | 260.00 | 35.00 |
6 | บูมยาว 42 เมตร | 50 | 19,000.00 | 280.00 | 35.00 |
อัตราค่าบริการปั๊มคอนกรีต - ปั๊มโมลีและปั๊มลาก
ลำดับ | รายการ (งานปั๊มทั่วไปและอาคารสูง) |
อัตราเหมาขั้นต่ำ | ส่วนที่เกิน ราคา บาท/ลบ.ม. | |
ปริมาณคอนกรีต ขั้นต่ำ (ลบ.ม.) | ราคาเหมา (บาท) | |||
1 | ชั้นที่ 1 ถึงชั้นที่ 7 และงานพื้นราบ | 50 | 13,500 | 200 |
2 | ชั้นที่ 8 ถึงชั้นที่ 15 | 50 | 15,000 | 220 |
3 | ชั้นที่ 16 ถึงชั้นที่ 20 | 50 | 17,000 | 250 |
4 | ชั้นที่ 21 ถึงชั้นที่ 30 | 50 | 19,000 | 280 |
5 | ชั้นที่ 31 ถึงชั้นที่ 40 | 50 | 21,500 | 310 |
6 | ชั้นที่ 41 ถึงชั้นที่ 50 | 50 | 25,500 | 360 |
ค่าบริการเพิ่มเติม (ถ้ามี)
- รอใช้งาน 4-8 ชั่วโมง คิดเหมาจ่าย 7,000.00 บาท
- รอใช้งาน นานเกิน 8 ชั่วโมง คิดเพิ่มชั่วโมงละ 1,000.00 บาท
- ติดตั้งท่อเพิ่ม คิดจากส่วนที่เกิน 10 ท่อนหรือ 30 เมตร ปลายปั๊มบูม 30.00 บาท/ เมตร
- ค่าเดินท่อกรณีใช้ท่อ ค่าเมตรละ 40 บาท ฟรี 70 เมตรแรก
- เคลื่อนย้ายปั๊มมากกว่า 3 ครั้ง หรื่อเกิน 300 เมตร คิดเพิ่ม 1,500 บาท
- เคลื่อนย้ายปั๊มลาก 3,000 บาทต่อครั้ง
- ค่าเดินทางกรณีปั๊มไม่ได้ทำงาน ค่าบริการ 50 คิวแรก
- ค่าเดินทางกรณีอยู่นอกพื้นที่ กรุงเทพ - ปริมณฑล คิดกิโลเมตรละ 35 บาท(ไป-กลับ) ฟรี 60 กิโลเมตรแรก
หมายเหตุ/เงื่อนไข
- ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 %
- หน่วยงานอยู่นอกเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล คิดค่าเดินทางตามระยะทาง
- คิดอัตราค่าบริการตามลักษณะปั๊มที่ใช้งานจริง
- หน่วยงานก่อสร้างต้องเตรียม ปูน ทราย สำหรับหล่อลื่น ท่อปั๊มคอนกรีต ขั้นต้น 0.5 m3
- คอนกรีตที่ใช้ปั๊ม ต้องมีปริมาณซีเมนต์ไม่ต่ำกว่า 300 กก./ลบ.ม. และ Slump 10 +- 2.5 ซ.ม. ที่หน่วยงาน
- กรณีปั๊มเสีย / ปูนหมดอายุ บริษัทฯจะรับผิดชอบไม่เกินวงเงินที่จองปั๊มในวันนั้น ๆ
- บริษัทฯ จะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดจากปัญหาการทำงาน
ยกเว้นปั๊มไม่สามารถทำงานได้ เนื่องจาก ปั๊มเสีย/ขัดข้อง - กรณียกเลิกการจอง ต้องแจ้งภายใน 13.00 น.ก่อนวันทำงาน 1 วัน ถ้าแจ้งหลังจากนั้นต้องเสียค่ายกเลิกการจอง 4,000 บาท
- หากมีรายละเอียดที่หน่วยงานมากกว่านี้กรุณาปรึกษาพนักงาน 0 2946 6352 ,0 2946 7569
ปั๊มคอนกรีต ปั๊มลากจูง ใช้ได้ดีกับงาน
ประโยชน์ของปั๊มคอนกรีต
- ความรวดเร็วในการเทคอนกรีต ผู้รับเหมาสามารถเลือกขนาดและจำนวนปั๊มให้เหมาะสมกับลักษณะงานได้ ในขณะที่ถ้าใช้วิธีการอื่น เช่นการใช้ทาวเวอร์เครนหรือลิฟท์ อัตราการเทคอนกรีตจะถูกจำกัดด้วยทาวเวอร์เครนหรือลิฟท์
- ความสะดวกในการเท สามารถวางตัวปั๊มไว้บริเวณที่รถคอนกรีตผสมเสร็จเข้าได้สะดวกและต่อท่อไปยัง บริเวณที่จะเทคอนกรีต ทำให้สามารถทำงานได้สะดวก
- การตกแต่งผิวคอนกรีตจะสิ้นเปลือง น้อย เนื่องจากคอนกรีตที่สามารถใช้ได้กับปั๊มคอนกรีตนั้น จะต้องมีส่วนผสมของทรายละเอียดอยู่จำนวนหนึ่ง จึงทำให้ผิวของคอนกรีตที่เทโดยปั๊มคอนกรีตนั้นค่อนข้างเรียบ และไม่สิ้นเปลืองในการฉาบผิวหลังจากการถอดแบบแล้ว
- ค่าแรงงานในการเทจะน้อยลง ทั้งนี้เนื่องจากการเทคอนกรีตโดยใช้ปั๊มคอนกรีต จะใช้คนน้อยกว่าการเทคอนกรีต โดยวิธีอื่น ๆ และยังสามารถเทได้ในเวลาที่รวดเร็วกว่าอีกด้วย เป็นผลให้ค่าแรงงานในการเทน้อยลง
- ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างทั้งหมด จะลดลง ซึ่งเป็นผลมาจากการทำงานที่รวดเร็วของปั๊มคอนกรีต ทำให้ระยะเวลาที่ใช้ในการก่อสร้างทั้งหมดลดลง ผู้รับเหมาก่อสร้างจะได้รับค่าจ้างเร็วขึ้น ลดดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จะต้องเสียไป สามารถรับงานได้มากขึ้นในระยะเวลาเดียวกัน
- คุณภาพของคอนกรีตในโครงสร้างดี ซึ่งเป็นผลมาจากคอนกรีตที่เทในแบบมีความต่อเนื่องสม่ำเสมอและรวดเร็ว
ควรใช้ปั๊มคอนกรีตแบบปั๊มลากเมื่อไหร่ ?
การนำปั๊มลากจูงหรือปั๊มคอนกรีตแบบไม่มีรถบรรทุกไปใช้ลำเลียงคอนกรีต ให้ได้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า เมื่องานของคุณกำลังเผชิญกับปัญหา หรือสถานการณ์ดังต่อไปนี้
- การขาดแคลนแรงงาน
- สถานที่ก่อสร้าง แคบไม่สามารถจอดรถ หรือติดตั้งปั๊มคอนกรีตแบบรถบรรทุก
- ต้องการส่งคอนกรีตขึ้นตึกสูง
- ระยะทางระหว่างจุดรถโม่กับสถานที่เทคอนกรีตห่างกันมาก
- งานใต้ดิน อุโมงค์ สถานที่แคบ หรือมีอุปสรรคมาก
- เวลาก่อสร้างมีจำกัด
- การเทคอนกรีตจำนวนมาก
- สถานที่เทคอนกรีต ยากต่อการลำเลียงคอนกรีตโดยวิธีอื่น
- มีการจัดส่งคอนกรีตอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ
- คนงานมีความรู้ ประสบการณ์และมีการวางแผนงานที่ดี
ขนาดปั๊มลากจูง ขึ้นอยู่กับ แบบปั๊มนั้น ๆ ขนาดความกว้าง ยาว ใกล้เคียงกัน
คุณสมบัติทั่วไป
model | ปั๊มลากจูง | |
อัตราการส่งคอนกรีต | 71 m³/h | |
แรงดันท่อคอนกรีต | 71 บาร์ |
|
เสียงดัง | 85 เดซิเบล เอ |
|
แรงม้า | 115kW(154 แรงม้า) | |
น้ำหนัก | 4200 kg |
การทำงานกับปั๊มคอนกรีต ปั๊มลากจูง
ปั๊มลากจูง นิยมใช้กับสถานที่ก่อสร้างที่ต้องการเทคอนกรีตทุกวัน ใช้ร่วมกับ Placing Boom ในการก่อสร้าง อาคารขนาดใหญ่ สูงหลายชั้น นิยมนำปั๊มคอนกรีตประเภทนี้ ยกไว้บนชั้นสูง เพื่อส่งต่อคอนกรีต โดยช่างปั๊มคอนกรีต จะทำการเดินท่อตามแนวไว้เลยจนกว่าจะแล้วเสร็จโครงการ
ลำเลียงคอนกรีตผสมเสร็จ ต้องมีหน่วยงานหรือผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายด้วยกัน หน้าที่ของแต่ละคนมีความสำคัยต่อประสิทธิภาพรวมในการใช้งานปั๊มคอนกรีต มาดูบทบาทแต่ละฝ่ายกัน
ศูนย์จัดส่งคอนกรีต
- เมื่อต้องใช้ปั๊มคอนกรีตต้องระบุและสั่งคอนกรีตสำหรับใช้กับปั๊มคอนกรีต
- ต้องกำชับผู้ควบคุมเครื่องชั่งว่า คอนกรีตนั้นใช้กับปั๊มคอนกรีต และรู้ส่วนผสมที่ถูกต้อง
- ก่อนเริ่มจัดส่งคอนกรีตต้องตรวจสอบกับหน่วยงานก่อสร้างว่าติดตั้งปั๊มคอนกรีต และเดินท่อส่งคอนกรีตเรียบร้อยและพร้อมที่จะเทหรือยัง
- ต้องรู้จำนวนที่เทล่วงหน้า เพื่อเตรียมวัตถุดิบ
- จัดรถโม่ให้เพียงพอ เพื่อการจัดส่งได้ต่อเนื่อง
ผู้ควบคุมเครื่องชั่ง
- ต้องรู้ส่วนผสมสำหรับงานปั๊มคอนกรีต ซึ่งมักใช้ซีเมนต์และทรายมากกว่าปกติ
- ต้องมีวัตถุดิบเพียงพอ
- เพื่อให้คอนกรีตที่มีค่ายุบตัว และคุณภาพสม่ำเสมอ ต้องคอยสังเกตความชื้นของทรายเปลี่ยนไปหรือไม่ โดยต้องปรับอัตราส่วนผสมให้ถูกต้องตามสถานการณ์
- จำเป็นอย่างยิ่งที่อัตราส่วนผสมของทรายในคอนกรีตต้องถูกต้องอยู่เสมอ
- ต้องคอยบันทึกปริมาณน้ำที่ใส่ในคอนกรีตอยู่เสมอ เพื่อสังเกตความเปลี่ยนแปลงของสภาพ หิน ทราย
- ต้องสังเกตคอนกรีตทุกครั้ง หลังจากผสมเสร็จแล้วว่ามีค่ายุบตัว และความขันเหลวถูกต้อง
พนักงานขับรถโม่
- ควรผสมคอนกรีตให้เข้ากันทุกครั้งก่อนออกจากโรงงานคอนกรีต
- ต้องคอยสังเกตค่ายุบตัวของคอนกรีตก่อนคายออกจากโม่
- ต้องสำรวจทางเข้าเทคอนกรีตก่อนเข้าเทจริง ๆ และควรตรวจสอบว่ามีพื้นที่ให้รถโม่ 2 คันเข้าเทพร้อมกันหรือไม่
- ควรหมุนโม่ผสมคอนกรีตซ้ำ ๆ ก่อนคายคอนกรีตออกจากโม่ และระหว่างรอเทคอนกรีตให้หมุนโม่ช้า ๆ อยู่ตลอดเวลา
- พนักงานขับรถต้องแจ้งให้โรงงานคอนกรีตทราบถึงปัญหาที่หน้างาน รวมทั้งเรื่องคุณภาพคอนกรีตและอัตราการเทที่แท้จริง
- พนักงานขับรถต้องอยู่ที่รถโม่ตลอดเวลา
- เมื่อเทคอนกรีตเสร็จแล้ว ต้องเคลื่อนรถโม่ออกจากปั๊มโดยเร็ว เพื่อให้รถคันต่อไปเข้าเท
- ถ้าหากลูกค้าให้เติมน้ำที่หน่วยงาน ต้องให้ลูกค้าเซ็นรับผิดชอบในใบส่งสินค้า
พนักงานควบคุมปั๊มคอนกรีต
- มาถึงหน้างานก่อสร้างตรงตามเวลา หากมาไม่ทันต้องรีบแจ้งโรงงานคอนกรีตและผู้รับเหมาทราบ
- ตั้งปั๊มคอนกรีตให้ใกล้จุดที่จะ เทให้มากที่สุด โดยคำนึงถึงความเอื้ออำนวยของสถานที่และความสะดวกของรถโม่ที่จะเข้าเท ควรมีที่พอให้รถโม่เข้าเทได้ 2 คัน
- ในกรณีที่ใช้ปั๊มบูมต้องระวังสิ่งกีดขวางข้างบน โครงหลังคา นั่งร้านโดยเฉพาะสายไฟฟ้าและสายโทรศัพท์
- ต้องแน่ใจว่าติดตั้งท่ออย่างถูกต้องและมั่งคง โดยคำนึงถึงแรงกระแทกของท่อขนาดปั้ม
- เมื่อรถโม่มาถึง ต้องคอยช่วยโบกรถให้ถอยเข้า และต้องปิดตะแกรงเหนือ HOPPER ทุกครั้ง
- ก่อนรับคอนกรีต ต้องตรวจสอบว่า คอนกรีตผสมเข้ากันดีแล้ว หากต้องมีการแก้ไขต้องแจ้งให้ตัวแทนที่หน่วยงานทราบ
- ต้องแน่ใจว่าคนงานที่อยู่ปลายท่อรู้วิธีการทำงานที่ถูกต้อง
- ก่อนทำการย้ายปั๊มบูมต้องเอาบูมลงทุกครั้ง
- เมื่อเสร็จงานต้องทำความสะอาดปั๊มคอนกรีตและท่อส่งคอนกรีต